5 เรื่องจริงเกี่ยวกับ ‘ยูนิฟอร์ม’ ที่คุณอาจไม่เคยรู้! และพนักงานไม่กล้าบอกคุณ

เพราะ ‘ยูนิฟอร์ม’ เป็นมากกว่าชุดทำงานในชีวิตประจำวัน ยูนิฟอร์มสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ เพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจ จนถึงมอบประสบการณ์ที่ดีและความไว้วางใจให้กับลูกค้า ทั้งยังยกระดับจิตวิญญาณและสร้างความภูมิใจในแบรนด์แก่พนักงาน แต่รู้หรือไม่ว่า ภายใต้ยูนิฟอร์มที่พนักงานสวมใส่ยังมีเรื่องจริงที่หลายคนไม่เคยรู้ และพนักงานก็ไม่มีโอกาสฟีดแบ็คให้ผู้บริหารรับรู้เช่นกัน 

เหตุผลที่บริษัทชั้นนำของโลกต่างก็ให้ความสำคัญกับการออกแบบยูนิฟอร์มอย่างมาก เพราะชุดที่พนักงานสวมใส่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับแบรนด์และธุรกิจของคุณตั้งแต่แรกเห็น ในทางตรงกันข้ามหากยูนิฟอร์มนั้นออกแบบตัดเย็บไม่ดี มันอาจสร้างความเสียหายให้กับชื่อเสียงของบริษัทได้ไม่แพ้กัน ว่าแต่คุณจะหลีกเลี่ยงประสบการณ์ไม่ดีที่พนักงานและลูกค้ามีต่อยูนิฟอร์มได้อย่างไร ? 5 เทคนิคจากนี้จะช่วยให้คุณมีแนวทางในการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น



‘เนื้อผ้า’ หัวใจสำคัญของการออกแบบยูนิฟอร์ม

ครั้งหนึ่งสายการบินชื่อดังระดับโลกของอเมริกา เคยออกแบบยูนิฟอร์มที่ชื่อ ‘Passport Plum’ ผลิตโดยบริษัทที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง แม้ดีไซน์จะหรูหรา สง่างาม ส่งเสริมบุคลิกภาพของพนักงาน รวมถึงส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร แต่พนักงานส่วนใหญ่ยอมรับว่า เนื้อผ้าที่สวมใส่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัวระหว่างวัน และบางคนถึงกับผิวหนังระคายเคืองอย่างรุนแรง


ยูนิฟอร์มที่ดีจึงควรนำเสนอภาพลักษณ์ที่สะท้อนความเป็นมืออาชีพของพนักงาน ขณะเดียวกันมันก็ช่วยให้พวกเขาปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสะดวกสบาย คล่องตัว และไม่ต้องพะวงกับดีไซน์หรือการตัดเย็บที่ไม่ดี นอกจากนี้ คุณยังต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้งานให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนเครื่องแบบใหม่บ่อย ๆ รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น การเลือกใช้ผ้าคุณภาพสูง ระบายอากาศได้ดี รีดง่ายยับยาก ทนต่อการซักบ่อยครั้ง และผ่านกระบวนการย้อมสีที่มีคุณภาพเพื่อช่วยล็อคสีไม่ให้ซีดจางเร็ว เนื้อผ้าจึงเป็นตัวเลือกที่สำคัญในการออกแบบยูนิฟอร์ม และสะท้อนความเป็นมืออาชีพของพนักงานโดยปราศจากคำพูด



รับฟัง ‘เสียงสะท้อน’ ของพนักงาน 

เพราะ ‘พนักงาน’ คือคนที่ต้องสวมใส่ยูนิฟอร์มตลอดวัน พวกเขารู้ดีว่า ยูนิฟอร์มที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดีจะช่วยให้ทำงานได้อย่างคล่องแคล่วและสะดวกสบาย การเปิดรับฟังความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับยูนิฟอร์มใหม่และฟังก์ชั่นการใช้งานที่พวกเขาต้องการ จะช่วยให้ดีไซเนอร์สามารถออกแบบยูนิฟอร์มที่ตรงกับความต้องการและประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ มากขึ้น แม้ผู้เชี่ยวชาญอาจจะให้คำแนะนำได้ว่า เนื้อผ้าแบบไหนที่ดีและทนทาน แต่คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า มันจะทำให้พนักงานรู้สึกประหม่าหรือไม่มั่นใจในตัวเองหรือเปล่า ? การเปิดรับฟังความคิดเห็นของพนักงานจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณออกแบบยูนิฟอร์มได้ตามต้องการ แล้วยังทำให้พวกเขาประทับใจในผู้นำที่เล็งเห็นคุณค่า และเปิดรับฟังความคิดเห็นของฟันเฟืองทุกชิ้นในองค์กร



เพิ่มความมั่นใจ และผ่อนคลายในเวลาเดียวกัน

พนักงานหลายคนรู้สึกอึดอัดเพราะถูกบังคับให้สวมชุดทำงานที่ไม่ชื่นชอบ หรือไม่มีความสุขขณะสวมใส่ ส่งผลต่อความมั่นใจและประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง ไม่ว่าจะเป็นชุดที่รัดแน่นหรือหลวมจนเกินไป ชุดที่ยับง่ายแต่รีดยาก ดูแลรักษายาก แม้แต่สีที่ดูซีดจางก็อาจทำให้พนักงานคนนั้นดูไม่เป็นมืออาชีพในสายตาของลูกค้าได้เลย ทั้งยังส่งผลต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของแบรนด์อีกต่างหาก ยูนิฟอร์มที่ดีควรสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้กับพนักงาน สร้างความภูมิใจในแบรนด์ พร้อมกับเพิ่มความรู้สึกผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจในเวลาเดียวกัน ก่อนออกแบบตัดเย็บยูนิฟอร์มจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า พนักงานจะรู้สึกสะดวกสบาย คล่องตัว และมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ ‘รู้ใจ’ พวกเขามากที่สุด


ยูนิฟอร์มที่ดีควรสะท้อน ‘ภาพลักษณ์’ ของแบรนด์

จำไว้ว่า ภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ย่อมนำมาซึ่ง ‘ชื่อเสียง’ ซึ่งเป็นตัวกำหนด ‘ยอดขาย’ และ ‘ผลกำไร’ ของธุรกิจ ทำให้ยูนิฟอร์มเป็นปราการด่านแรกที่สร้าง First Impression ให้กับลูกค้า ยูนิฟอร์มที่ดีต้องได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับปรัชญาของแบรนด์ รวมถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่นำไปสู่ความสำเร็จ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์ เมื่อลูกค้าวางใจในแบรนด์ก็มีแนวโน้มที่พวกเขาจะกลับมาซื้อสินค้ามากขึ้น หรือแนะนำให้คนอื่น ๆ มาเป็นลูกค้าใหม่ของคุณได้ด้วย

การปักชื่อพนักงานบนยูนิฟอร์มหรือการติดป้ายชื่อที่หน้าอก เป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพในการช่วยให้พนักงานสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าตั้งแต่แรกพบ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่อยากรู้ว่า พวกเขากำลังติดต่อกับใครและมีแนวโน้มที่จะรู้สึกคุ้นเคยกับพนักงานคนนั้น หรือการเพิ่มถ้อยคำบางอย่างกระตุ้นการมีส่วนร่วมของลูกค้าได้ เช่น “มีอะไรให้ช่วยไหมครับ” หรือ “ฉันมีคำตอบสำหรับคุณ!” เป็นวิธีเริ่มต้นบทสนทนาที่สนุกสนานและเป็นกันเองกับลูกค้า ทั้งยังระบุตัวตนด้วยว่า คน ๆ นั้นเป็นพนักงานที่พร้อมให้บริการด้วยความภูมิใจ


งบประมาณก็สำคัญไม่แพ้กัน

แม้การออกแบบยูนิฟอร์มที่ซับซ้อนอาจมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็แลกมาด้วยความคุ้มค่า ฟังก์ชั่นการใช้งาน ทนทาน และคุณภาพ ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการออกแบบตัดเย็บยูนิฟอร์มใหม่บ่อยเกินไป การตั้งงบประมาณในการออกแบบยูนิฟอร์มจึงควรพิจารณาจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความทนทาน คุณภาพ ฟังก์ชั่นการใช้งาน และพนักงานแต่ละคนต้องการยูนิฟอร์มคนละกี่ชุด ขณะที่พนักงานบางคนอาจมีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนยูนิฟอร์มบ่อย ๆ เพื่อรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ก็เป็นได้


เมื่อถีงเวลาที่แบรนด์ต้องการออกแบบหรือเปลี่ยนยูนิฟอร์มใหม่ แบรนด์ควรให้ความสำคัญกับองค์ประกอบทั้ง 5 ข้อที่ W2W รวบรวมมาฝากกัน เพราะการลงทุนกับ ‘ยูนิฟอร์ม’ ถือเป็นการตัดสินใจที่สำคัญทางธุรกิจ และเป็นพันธสัญญาที่แบรนด์ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้ยูนิฟอร์มสร้างความมั่นใจในตัวเองทุกครั้งที่สวมใส่ พร้อมมอบประสบการณ์และภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์


🤗 ต้องการสั่งซื้อ หรือสอบถามสินค้า 🤗

☎ 02-196-2113 มือถือ. 080-269-6660 (คุณ)
📲 LINE : @WEARTOWORK
🌍 www.w2w.co.th

รับชมวีดีโอ