คุณเอก ทองประเสริฐ W2W ร่วมเป็น Guest Speaker ในหัวข้อเสวนา “Innovation + Design for Sustainable lifestyles products” ร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 เวลา 13.30 น. – 14.30 น. @Siam Paragon กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) จัดเสวนาหัวข้อ “Make ~IM~Possible : OTOP & MSMEs Fashion Go Global – ต่อยอดแฟชั่นท้องถิ่น สู่เวทีโลก… เราทำได้?” เพื่อร่วมผลักดันและขับเคลื่อแฟชั่นไทยด้วยแนวคิด sustainable Design พร้อมสนับสนุนด้านข้อมูลตลาดต่างประเทศ เงินทุนอุดหนุน การช่วยหาพันธมิตร และการให้คำแนะนำในการเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ร่วมเสวนาโดยคุณนิศาบุษป์ วีรบุตร ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการค้าสินค้าไลฟ์สไตล์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์, อ.เอก ทองประเสริฐ Designer Director of OTOP Premium go Inter ปีที่ 8, เจ้าของแบรนด์ เอก ทองประเสริฐ, Sculpture Studio และ W2W, คุณปรเมศร์ สายอุปราช เจ้าของแบรนด์ Mr.Leaf Thailand, คุณกัณญเนศ พรมะธานชัย แบรนด์ Yanet Design และ ดร.เรืองลดา ปุณยลิขิต

W2W เปิดตัวโปรเจ็กต์ใหม่ นำทีมออกแบบยูนิฟอร์มให้กับ SCGC (เอสซีจีซี) ตอบโจทย์ความหลากหลาย เข้าได้กับทุกคน ทุกสไตล์ภายใต้ธีม “Your Uniform, Your Style”

W2W (Wear to Work) ผู้นำด้านการออกแบบยูนิฟอร์มให้กับองค์กรชั้นนำของไทย เปิดตัวโปรเจ็กต์ใหม่ในฐานะทีมออกแบบยูนิฟอร์มให้กับ SCGC (เอสซีจีซี) ผู้นำด้านเคมีภัณฑ์ครบวงจรในอาเซียนมากว่า 40 ปี ผลงานการออกแบบของ เอก ทองประเสิรฐ ดีไซเนอร์ชื่อดังและผู้ก่อตั้งแบรนด์ ‘Ek Thongprasert’ ในฐานะดีไซเนอร์ให้กับ W2W โดยจับมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตยูนิฟอร์มมากว่า 30 ปี ‘PJ-Garment’ ภายใต้การบริหารงานโดยเจเนอเรชั่น 2 อย่าง คุณวิภาพร สัตยาอภิธาน Marketing & Production Manager และ คุณณัชคุณ สัตยาอภิธาน Specialize Personal Stylishing & Digital Marketing ชูคอนเซ็ปต์ Your Uniform, Your Style ” สร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้ยูนิฟอร์มของพนักงาน SCGC ดูทันสมัย ปราดเปรียว คล่องตัว และสวมใส่ได้ในทุกโอกาสแบบ Smart Look เพิ่มความมั่นใจให้ผู้สวมใส่และตอบโจทย์ทุกฟังก์ชั่นการใช้งานได้อย่างลงตัว

ชุดพนักงานเป็นสิ่งสำคัญที่จะสะท้อนตัวแบรนด์ SCG chemicals ได้มีการ rebrand เป็น SCGC สำหรับโลโก้ใหม่ เป็นรูปกราฟฟิกใบไม้หกเหลี่ยม และตัวอักษร SCGC สะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนบนอุดมการณ์ของเอสซีจี พร้อมทั้งความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการเติบโต ภายใต้แนวทาง ESG (Environmental, Social & Governance ) สำหรับการออกแบบยูนิฟอร์มครั้งนี้นะครับ เรายังต้องการตอบโจทย์เรื่องการทำงานในรูปแบบที่เรียบง่าย smart look  สามารถใส่ปฏิบัติงานได้ทั้งภายในและภายนอกบริษัท นอกจากนี้ เรายังอยากได้ชุดยูนิฟอร์มที่ตอบโจทย์ความต้องการของพนักงานที่มีความหลากหลายให้ได้มากที่สุด ทั้งหน้างาน ช่วงอายุ เพศที่แตกต่างกัน

เรามีการให้แนวคิดที่ใช้ในการออกแบบ คือเรื่องของ employees choice ซึ่งเหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย ทุกรูปร่าง ซึ่งสนับสนุนเรื่องความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง สำหรับผลลัพธ์ในครั้งนี้คณะทำงานและพนักงานรู้สึกแฮปปี้ กับการออกแบบชุดพนักงาน เราเชื่อว่าทุกคนสามารถสวยหล่อในแบบของตัวเองได้ตามแนวคิด Your Style Your Choice”

ศิริพันธ์ อาจนนท์ลา ประธานคณะทำงานในการคัดเลือกยูนิฟอร์มของ SCGC พูดถึงเหตุผลที่มอบความไว้วางใจให้ W2W เป็นผู้สร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับองค์กร โดย W2W ออกแบบยูนิฟอร์มถึง 20 ชิ้น ประกอบด้วย เสื้อเชิ้ตแขนสั้น-แขนยาวทั้งแบบมาตรฐานและ Slim Fit แจ็กเก็ต และกางเกง อีกทั้งทุกชิ้นยังสามารถปรับความยาวให้เข้ากับสรีระของผู้สวมใส่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แล้วยังสะท้อนปรัชญาในการดำเนินธุรกิจที่เน้นความก้าวล้ำของเทคโนโลยีควบคู่กับการส่งเสริมความยั่งยืนได้อย่างลงตัว

“ครั้งนี้เราได้นำทฤษฎีบุคลิกภาพ 12 แบบ (12 Archetypes) ของคาร์ล ยุง (Carl Jung) นักจิตวิทยาชื่อดัง มาประยุกต์กับการออกแบบยูนิฟอร์มให้ SCGC อย่างการนำบุคลิกภาพแบบ Regular Person (คนทั่วไป) มาผสมผสานกับ Explorer (นักสำรวจ) เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาขององค์กร ที่เน้นการสร้างสรรค์และการค้นคว้าสิ่งใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า รวมถึง Hero ที่นิยมใช้กับเสื้อผ้าแนวสปอร์ต จึงเป็นการผสมผสานศาสตร์และศิลป์ของการออกแบบเสื้อผ้า หลักจิตวิทยา และปรัชญาในการดำเนินธุรกิจขององค์กรไว้ด้วยกัน หลอมรวมเป็น ‘Everyman’ หมายถึง ยูนิฟอร์มที่ทุกคนสามารถสวมใส่ได้อย่างมั่นใจและสวมใส่ได้อย่างสะดวกสบายตลอดวัน”

คุณเอก ทองประเสิรฐ พูดถึงแรงบันดาลใจในการออกแบบยูนิฟอร์มให้กับ SCGC ในฐานะดีไซเนอร์ไทยเจ้าของรางวัล Fashion Collection of The Year จากอิตาลี และรางวัล Fashion Weekend Brussels จากเบลเยียม คุณเอกได้นำความรู้และประสบการณ์ในการผลิตยูนิฟอร์มสไตล์ ‘Tailor Made’ ให้กับ Luxury Brand มากว่า 10 ปี ผสมผสานกับงานวิจัยเรื่องหลักสรีระศาสตร์ของคนไทย (Size Thailand ของ สวทช.) รวมถึงความท้าทายครั้งใหม่เมื่อต้องออกแบบยูนิฟอร์มให้เหมาะกับความหลากหลายของรูปร่าง เพศ และช่วงวัย

“โจทย์ที่ท้าทายที่สุดของโปรเจ็กต์นี้คือ การออกแบบยูนิฟอร์มที่เน้นความเรียบง่ายและฟังก์ชั่นเป็นสำคัญ เราจึงออกแบบยูนิฟอร์มที่สามารถปรับแต่งไซส์ได้ถึงกว่า 300 แบบ เพื่อให้พนักงานปรับให้เข้ากับรูปร่างได้อย่างเหมาะสม โดยไม่ต้องจ้างช่างตัดเสื้อมาปรับแต่งขากางเกงให้พอดี รวมถึงเนื้อผ้าที่ดูแลรักษาง่ายและยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้น

“ที่สำคัญพนักงานต้องใส่ยูนิฟอร์มของเราแล้วรู้สึกมั่นใจในรูปร่าง เป็นตัวของตัวเอง ขณะเดียวกันพวกเขาก็ยังรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เพราะยูนิฟอร์มที่ดีควรมอบความสุขให้กับพนักงานในแบบ Freedom Life ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาของ W2W ที่อยากให้ชีวิตการทำงานในแต่ละวัน เป็นวันแห่งความสุขสำหรับคุณ”

ภายใต้ยูนิฟอร์มที่ทันสมัย เข้าใจความแตกต่างตามหลักสรีระศาสตร์ และสะท้อนหลักปรัชญาขององค์กรได้อย่างสมบูรณ์แบบ W2W พร้อมสร้างสรรค์มิติใหม่ในการออกแบบยูนิฟอร์มของเมืองไทย ภายใต้มาตรฐานการออกแบบและการผลิตในระดับสากล เพื่อมอบ ‘ความสุข’ และ ‘ความมั่นใจ’ ให้พนักงาน รวมถึงสร้างความภูมิใจและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรในเวลาเดียวกัน ติดตามผลงานของ W2W ได้ที่ https://www.w2w.co.th/ และ https://www.facebook.com/w2w.weartowork

ยกระดับภูมิปัญญา ดีไซน์ผ้าไทย ให้ใส่สนุกจนอยากใส่ทุกวัน

เรื่องโดย ปิยฉัตร เมนาคมภาพ ปฏิพล รัชตอาภา

ผ้าไทย ใครว่าใส่ได้เฉพาะโอกาสสำคัญ

การตัดสินหรือจำกัดกรอบผ้าไทยมาจาก 2 ประเด็นหลัก คือการออกแบบและมุมมอง

ประเด็นแรก การออกแบบ ในที่นี้หมายถึงการออกแบบตัดเย็บสมัยก่อน เช่น ชุดผ้าไหม ชุดผ้าซิ่น ชุดผ้าไหมข้าราชการ จะมีรูปแบบ (Pattern) และเข้าถึงยาก ฉะนั้น โครงการพัฒนาการออกแบบเครื่องแต่งกายผ้าไทยร่วมสมัย (Ready to Wear) จึงเห็นโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของผ้าไทย

ประเด็นที่ 2 คือคนมีภาพจำว่าผ้าไทยหรือชุดไทย ๆ ต้องใส่ในโอกาสสำคัญเท่านั้น

2 ประเด็นนี้น่าสนใจและน่าชวนตั้งคำถาม เหตุใดผ้าไทยถึงถูกมองด้วยเช่นนั้นว่าเป็นของชนชั้นสูง ไม่ทันสมัย เข้าถึงยาก ทั้งที่จริงแล้วแหล่งผลิตดั้งเดิมของผ้าไทยเกือบทุกชนิดมาจากชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เป็นภูมิปัญญาที่ส่งต่อหลายยุคหลายสมัย แต่วันนี้กลับเป็นสิ่งที่ไกลออกไป

ด้วยเหตุนี้ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จึงจัดโครงการพัฒนาการออกแบบเครื่องแต่งกายผ้าไทยร่วมสมัย (Ready to Wear) ชวนนักออกแบบ 4 คน จับคู่ผู้ประกอบการ 13 กิจการจาก 4 ภาคของประเทศไทย ร่วมกันตีโจทย์ แลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์ และเรียนรู้ พร้อมสร้างสรรค์ผลงานภายใต้คอนเซปต์ ‘ผ้าไทยร่วมสมัย’ ร่วมกัน

นี่คือเรื่องราวและแรงบันดาลใจของผู้อยู่เบื้องหลังวงการผ้าไทย

ภาคเหนือ

เอก ทองประเสริฐ ดีไซเนอร์และเจ้าของแบรนด์ Ek Thongprasert และ Sculpture Studio

เพราะสนใจงานปัก Patchwork อยู่ก่อนแล้ว และภาคเหนือมีความเรียบง่าย แต่ซับซ้อน

เพราะความบริสุทธิ์ เข้าถึงง่าย ของพี่น้องชาติพันธุ์ เอกจึงตัดสินใจเลือกที่นี่ แต่ประเด็นหลักคือ

“เราสนใจกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขา สนใจวัฒนธรรมของเขา และอยากพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เขา”

เสน่ห์ของชาติพันธุ์ลีซอ คือการแต่งกายแสดงอัตลักษณ์ชัดเจน นุ่งห่มเสื้อผ้าสีสดใส ตกแต่งด้วยไหมพรมและพู่ประดับ ส่วนเสน่ห์ของชาติพันธุ์ม้ง คือผ้าปักสะท้อนเรื่องราววัฒนธรรมของหญิงชาวม้ง

เอกมองว่าเบื้องหลังเหล่านี้เป็นเรื่องที่บางครั้งไม่ได้ถูกนำมาเล่า จึงไม่ได้ซึมซับคุณค่าเท่าที่ควร เลยอยากฟื้นเรื่องราวนี้ออกมาให้คนส่วนใหญ่เห็น เพราะมีวิถีชีวิต มีวัฒนธรรม มีความเป็นตัวตนของพวกเขาอยู่ในลายผ้านั้น ๆ ซึ่งควรค่าแก่การสืบทอด พัฒนา และประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน

ผลงานของเอกทำขึ้นภายใต้แนวคิด ‘ไดอารี่ของ 2566’ จินตนาการว่า ถ้าชาวเขามาอยู่ในเมืองจะเกิดอะไรขึ้น ลายเส้นที่ออกมาจึงมีที่มาจากช่องว่างของตึก อาคาร บ้าน เพื่อสื่อความเป็นเมือง

“เราอยากสร้างความเข้าใจและเชื่อมเสื้อผ้าพื้นถิ่นกับคนรุ่นใหม่ ทำให้คนหมู่มากในสังคมให้ความสนใจกผ้าพื้นถิ่น และอยากให้คนภูมิใจกับชาติพันธุ์มากขึ้น นี่คือสิ่งที่เราอยากเห็นมาโดยตลอด”

ผู้ประกอบการรายแรกที่เอกร่วมงานด้วย คือนัดลดาคอตตอน

“ชื่อปลื้มค่ะ ตอนนี้ทำแบรนด์ นัดลดาคอตตอน” ปลื้ม-ผกาวดี แก้วชมพู แนะนำตัวกับเรา

นัดลดาคอตตอน เป็นแบรนด์ชุมชนกลุ่มทอผ้าบ้านห้วยทราย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

นัดลดาคอตตอนส่งต่อภูมิปัญญามา 4 รุ่น ตั้งแต่รุ่นทวด รุ่นยาย รุ่นแม่ และรุ่นปลื้ม ไอเดียที่ได้แรงบันดาลใจมาจากชุมชนมีมาตั้งแต่รุ่นทวด เธอค่อย ๆ พัฒนาให้ทันสมัยยิ่งขึ้น เพื่อเข้าถึงคนกลุ่มใหม่

ส่วนลวดลาย เธอได้รับแรงบันดาลใจจากการทำงานและการใช้ชีวิตกับชุมชน ปลื้มใช้เทคนิคทอสลับ เส้นยืนเป็นลายสายฝน และนำเศษผ้าเหลือจากชุมชนมาทำ Patchwork ตามที่ อ.เอก แนะนำ

“เรานำสิ่งที่อาจารย์เอกแนะนำ ใช้งานจากเศษผ้าหรืองานรียูสที่ทอทิ้งไว้ ลายมันสวย เราก็เอามาปะบนเสื้อแล้วไปลองขาย สิ่งนี้ตอบโจทย์ลูกค้าต่างชาติ และมีลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ มากขึ้น

“อาจารย์พัฒนาจุดแข็งของเราให้แข็งแรงขึ้น เราคิดว่าผ้าไทยไม่ได้หยุดอยู่แค่ว่าจะต้องเป็นเสื้อผ้าของกลุ่มข้าราชการเท่านั้น จริง ๆ ทุกเพศ ทุกวัย ก็ใส่ได้ และผ้าไทยก็ช่วยยกระดับชุมชนขึ้นมาเช่นกัน”

ผู้ประกอบการรายที่ 2 ที่เอกร่วมงานด้วย คือนายใจดี

“ชื่อ รุ่งนภา ใจดี เจ้าของแบรนด์นายใจดีค่ะ”

นาย อดีตพนักงานบริษัทส่งออกที่ผันตัวมาเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นเริ่มแนะนำตัว

ชุมชนของนายมีภูมิปัญญางานปัก แบรนด์นายใจดีจึงเน้นทำผลิตภัณฑ์เป็นพวงกุญแจ กระเป๋า และของใช้ต่าง ๆ ด้วยลวดลายซิกเนเจอร์ 3 แบบ ได้แก่ ลายแบบธรรมชาติ มีดอกไม้ ต้นไม้ ภูเขา ลายวิถีชีวิต มีไร่นา มีชาวนา มีกระต๊อบ และลายตัวอักษร ซึ่งเขาได้แรงบันดาลใจมาจากการเลี้ยงลูก

อาจารย์เอกแนะนำให้หยิบวิถีชีวิตชุมชนมาเล่าผ่านสินค้า เพื่อต่อยอดสินค้าให้มีความทันสมัย

ผู้ประกอบการรายที่ 3 ที่เอกร่วมงานด้วย คือยาจกไฮโซ

นวภัสร์ จำใจ เริ่มต้นทำร้านยาจกไฮโซเมื่อประมาณ 4 ปีก่อน เกิดจากกลุ่มญาติที่ชื่นชอบงานเย็บปักถักร้อยมารวมตัวกัน ทุกคนเห็นความสำคัญของผ้าชิ้นเล็ก ๆ ที่เหลือจากการตัดเย็บ เลยนำมาตกแต่งเป็น Patchwork ทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า หมวก รองเท้า สไตล์เย็บรุ่ย ๆ แล้วปักเพิ่มเพื่อเพิ่มมูลค่า

“ตอนแรกคิดจะทำเฉพาะในกลุ่มเครือญาติ แต่พอเอาไปขาย ปรากฏว่าผู้คนสนใจกันมาก เลยขยายเข้าไปในชุมชน คนในชุมชนก็เริ่มทยอยมารับงานไปทำ มีการพัฒนาฝีมือมาเรื่อย ๆ แล้วก็คิดลายปักที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มยาจกขึ้นมา” หัวหน้ากลุ่มเล่าที่มาที่ไปพอให้ทำความรู้จักกันสั้น ๆ

ยาจกไฮโซผสานภูมิปัญญาการทอและการปักเข้าด้วยกัน และพัฒนาลูกเล่น เช่น สร้างงาน 3 มิติ ทำให้ภาพรวมดูร่วมสมัยขึ้น เก๋ และไม่ซ้ำใคร แถมเป็นที่พูดถึงของกลุ่มลูกค้าชาวจีน

ผ้าไทยต้องไปต่อ!

นักออกแบบและผู้ประกอบการทำมีปลายทางเดียวกัน คือทำให้ภูมิปัญญาคงอยู่อย่างร่วมสมัย

สิ่งที่ต่างกัน คือวิธีคิด วิธีทำ วิธีผลิตผลงาน และอัตลักษณ์ของทั้ง 4 ดีไซเนอร์ และ 13 ผู้ประกอบการที่ชัดเจนในตัวตน ซึ่งการมาทำงานร่วมกันครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่แต่ละท่านได้มาแลกเปลี่ยนความคิดกัน และได้ประสบการณ์ที่นำกลับไปปรับและประยุกต์กับการทำงานได้

สิ่งที่เหมือนกัน คือทุกคนไม่ได้อยากจบงานลงตรงที่จบโปรเจกต์ การจะทำให้ภูมิปัญญาเก่าคงอยู่ร่วมสมัยอย่างยั่งยืน ต้องอาศัยเวลาและการปรับตัวของบุคคลทุกกลุ่ม ตั้งแต่ชาวบ้าน คนสร้างงาน นักออกแบบ เจ้าของแบรนด์ และผู้บริโภค รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งข้อนี้สำคัญมาก

สิ่งที่คาดหวังอยากให้เกิดขึ้น คือการสนับสนุนจากรัฐและเอกชน ที่เห็นภาพชัดที่สุด คือการบอกต่อหรือประชาสัมพันธ์สิ่งที่ทุกคนทำสู่สังคมแบบวงกว้าง สื่อสารประเด็นที่ต้องการสื่อให้คนได้เข้าใจร่วมกัน

สิ่งสุดท้าย คือคำขอบคุณ คำขอบคุณถึงทีมผู้ริเริ่มโครงการ คำขอบคุณระหว่างคนทำงานร่วมกัน คำขอบคุณระหว่างดีไซเนอร์ ผู้ประกอบการ และช่างฝีมือทุกคน รวมถึงคำขอบคุณจากตัวเองถึงตัวเองของทุกคนในโครงการพัฒนาการออกแบบเครื่องแต่งกายผ้าไทยร่วมสมัย (Ready to Wear) เพราะศักยภาพ ความตั้งใจ ล้วนเห็นเป็นประจักษ์ผ่านผลงานที่ผลิตออกมาในครั้งนี้เรียบร้อยแล้ว

คุณเอก ทองประเสริฐ ออกแบบ Fashion Show และร่วมตัดสินการประกวดออกแบบเครื่องแต่งกายร่วมสมัย ‘ไทยใส่สบาย’ ปี65

#คุณเอกทองประเสริฐ ผู้ออกแบบชุดยูนิฟอร์มประจำแบรนด์ W2W #ออกแบบผลิตชุดยูนิฟอร์มแฟชั่น ได้รับเชิญให้เป็นผู้ออกแบบ Fashion Show และร่วมตัดสิน #การประกวดออกแบบเครื่องแต่งกายร่วมสมัย ‘#ไทยใส่สบาย’ ประจำปี 2565 จัดโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.)

การประกวดออกแบบเครื่องแต่งกายร่วมสมัย “ไทยใส่สบาย”ประจำปี 2565 ภายใต้โจทย์ในการนำผ้าไทย มาใช้เป็นวัตถุดิบในการสร้างสรรค์ผลงานออกแบบให้เป็นเครื่องแต่งกายให้มีความร่วมสมัย เพื่อให้เห็นว่าผ้าไทยสามารถนำมาตัดเย็บให้สวยงาม ใส่ได้ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น วัยรุ่น วัยทำงาน และบุคคลทั่วไปก็สวมใส่ได้อย่างสบาย โดยมีผลงานที่ส่งเข้าร่วมการประกวด 88 ผลงานจากทั่วประเทศ และผ่านการคัดเลือกโดยคณะกรรมการ ซึ่งเป็นดีไซเนอร์มืออาชีพระดับแถวหน้า ของไทย จนเหลือผลงานที่มีความโดดเด่นจำนวนทั้งสิ้น 12 ผลงานในรอบสุดท้าย

W2W Wear To Work ออกแบบ-ผลิต-จำหน่าย #ชุดยูนิฟอร์มพนักงานทุกสาขาอาชีพ – #ชุดยูนิฟอร์มพนักงานทุกสายธุรกิจ ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์สินค้าและองค์กรได้อย่างมีระดับ

ต้องการสั่งซื้อ หรือสอบถามสินค้า
☎ 02-196-2113 มือถือ. 080-269-6660 (คุณ)
📲 LINE : @WEARTOWORK
🌍 www.w2w.co.th

คุณเอก ทองประเสริฐ ไทยดีไซเนอร์ชื่อดัง เข้ารับพระราชทานเข็มที่ระลึกของงานสยามพัสตรา ภูษาสง่าศิลป์ เฉลิมพระเกียรติฯ

คุณเอก ทองประเสริฐ ไทยดีไซเนอร์ชื่อดัง เจ้าของรางวัลระดับโลก และดีไซเนอร์ W2W ออกแบบยูนิฟอร์ม ได้เข้ารับพระราชทานเข็มที่ระลึกของงานสยามพัสตรา ภูษาสง่าศิลป์ เฉลิมพระเกียรติฯ

จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงเป็นประธานงาน เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ ที่ผ่านมา

[แพรว The CEO] วิภาพร สัตยาอภิธาน ผู้บริหารรุ่นใหม่ไฟแรง แห่งอาณาจักร P.J. Garment ต่อยอดธุรกิจสู่ “บริษัท W2W”

พบกับผู้บริหารรุ่นใหม่ไฟแรง แห่งอาณาจักร P.J. Garment ผู้นำแห่งธุรกิจสิ่งทอและผลิตเครื่องแบบให้กับโรงงานทั้งไทยและเทศ นำโดย คุณบี-วิภาพร สัตยาอภิธาน ที่กำลังต่อยอดธุรกิจสู่ “บริษัท W2W” ร่วมกับน้องชาย คุณ-ณัชคุณ สัตยาอภิธาน และเอก ทองประเสริฐ ดีไซเนอร์มือรางวัล สร้างสรรค์ธุรกิจออกแบบและผลิตเครื่องแบบ สำหรับ Corporate Workwear พร้อมตั้งเป้าเป็น No. 1 ด้านการออกแบบและผลิตชุดยูนิฟอร์มของทีมไทย “เพราะการทำงานกินเวลาไปกว่าครึ่งชีวิต ชุดทำงานจึงควรทั้งใส่สบายและบ่งบอกเอกลักษณ์ของแบรนด์ไปพร้อมๆ กัน”

ต้องการสั่งซื้อ หรือสอบถามสินค้า
☎ 02-196-2113 มือถือ. 080-269-6660 (คุณ)
📲 LINE : @WEARTOWORK
🌍 www.w2w.co.th

This image has an empty alt attribute; its file name is line-add-friend-300x200-1.png
This image has an empty alt attribute; its file name is youtube-icon-128.png

คุณวิภาพร สัตยาอภิธาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท Wear to Work บนนิตยสารแพรว เล่มประจำเดือนม.ค. 2022 (Let’s Celebrate 2022 Glow & Glory Life)

นิตยสารแพรว เล่มประจำเดือนมกราคม 2022 ได้ฉลองเทศกาลแห่งความสุขรับปี 2022 กับเรื่องราวความปัง ความเป็นที่สุด และความสำเร็จของ 12 #นักธุรกิจที่มุ่งมั่นทำความฝันให้เป็นจริง ในคอลัมน์ Let’s Celebrate 2022 Glow& Glory Life

ซึ่งหนึ่งใน 12 นักธุรกิจที่อยู่ในคอลัมน์นี้ ก็คือ #คุณวิภาพร สัตยาอภิธาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีเจ.การ์เม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท Wear to Work

เรื่องราวความปัง

เรื่องภูมิใจล่าสุดคือ ซึ่งรับทำยูนิฟอร์มพนักงานให้บริษัทอย่างโตโยต้า, กรีนสปอร์ต, วิริยะประกันภัย ฯลฯ เพิ่งได้รับรางวัลด้านนวัตกรรม Asian Purchasing Immovation Day 2021 ของ Michelin (ยิ้ม)

เมื่อก่อนเวลาเราจะขายเสื้อต้องไปวัดไซส์ลูกค้า แต่พอเกิดสถานการณ์โควิด ทำแบบเดิมไม่ได้ จึงคิดค้นระบบออนไลน์ Uniform Ordery System ที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องมาวัดตัว ช่วยประหยัดเวลา และค่าเดินทาง ที่สำคัญ คือช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

โดยลูกค้าสามารถล็อกอินเข้ามาเลือกยูนิฟอร์มได้เลย เรามีไซส์รองรับถึง 10 ขนาด จึงมั่นใจว่าทุกคนใส่ได้ โปรเจ็กต์ต่อไปคือการขายเสื้อเชิ้ตทางออนไลน์ เพียงคุณแค่ถ่ายรูปเสื้อเชิ้ตตัวเก่าส่งมา ระบบจะคำนวณทุกอย่างให้ โดยไม่ต้องแจ้งไซส์ ทั้งยังสามารถสั่งเสื้อแบบคัสตอมเมดได้


ต้องการสั่งซื้อ หรือสอบถามสินค้า
☎ 02-196-2113 มือถือ. 080-269-6660 (คุณ)
📲 LINE : @WEARTOWORK
🌍 www.w2w.co.th

This image has an empty alt attribute; its file name is line-add-friend-300x200-1.png
This image has an empty alt attribute; its file name is youtube-icon-128.png

เอก ทองประเสริฐ ออกแบบและผลิตชุดให้ทีมอาสา #Heroชุดฟ้า ช่วยโควิด-19

เอก ทองประเสริฐ ดีไซเนอร์ชื่อดังและผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ W2W (ดับบลิว ทู ดับบลิว) ผู้นำเทรนด์การออกแบบยูนิฟอร์มยุคใหม่ที่ทันสมัย ตอบโจทย์ทุกสไตล์การทำงาน และเพิ่มความมั่นใจในรูปร่างให้ผู้สวมใส่ในทุกสรีระ ออกแบบยูนิฟอร์มพิเศษให้กับชาวจิตอาสาในโครงการ Food For Fighters ด้วยชุด Jumpsuit สีฟ้า-ขาว ซึ่งเป็นสีที่ได้แรงบันดาลใจจากโลโก้ของโครงการ ฯ สามารถสวมใส่ทับเสื้อผ้าปกติได้ทันที เนื้อผ้าระบายอากาศได้ดี ไม่ร้อน ไม่ก่อให้เกิดไฟฟ้าสถิตย์ เพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานด้วยกระเป๋าใส่ของหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบาย ช่วยให้การลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในชุมชนต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างคล่องตัวและปลอดภัยมากขึ้น

นอกจากนี้ Food For Fighters ยังได้รับเกียรติจาก อแมนด้า ชาลิศา ออบดรัม มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2563 ในฐานะตัวแทนของโครงการ ฯ ที่ริเริ่มขึ้นในปี 2563 โดย เต้-พันชนะ วัฒนเสถียร ผู้ก่อตั้งร้านอาหาร ‘เป็นลาว’ ร่วมสนับสนุน ‘ข้าวเพื่อหมอ’ เพื่อเป็นกำลังใจให้เหล่าฮีโร่ชุดกราวนฺด์ ภายใต้ความร่วมมือกับกลุ่มบุคคล องค์กรเอกชน และอาสาสมัคร จนได้รับการยกย่องจากโคคา-โคล่า ให้เป็นหนึ่งในฮีโร่ชาวไทยร่วมกับฮีโร่จากหลายประเทศ ในหนังสั้นออนไลน์พิเศษ ‘For The Human Race’ ที่ออกฉายไปทั่วโลก ปัจจุบัน Food For Fighters ยังคงทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง และขยายความช่วยเหลือสู่การจัดส่งอาหารและถุงยังชีพถึงมือผู้รับ ฯลฯ จนได้รับยกย่องว่าเป็น ‘ฮีโร่ชุดฟ้า’ ที่เสียสละทำงานเพื่อคนอื่นในช่วงวิกฤตโควิด-19 #ช่วยในสิ่งที่ตัวเองถนัด #Heroชุดฟ้า

ติดตามความเคลื่อนไหวและร่วมสนับสนุนโครงการ ฯ ได้ที่ https://www.facebook.com/FoodForFightersTH และติดตามผลงานการออกแบบยูนิฟอร์มดีไซน์สวยของ W2W ได้ทาง https://www.facebook.com/w2w.weartowork

CSR กลยุทธ์ในการออกแบบยูนิฟอร์ม ที่สะท้อนความยั่งยืนและจริยธรรมของแบรนด์

ปฏิเสธไม่ได้ว่า Corporate Social Responsibility (CSR) หรือความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร กลายเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดที่หลายธุรกิจทั่วโลกต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากแบรนด์ดังระดับโลกนำแนวคิดเรื่อง CSR มาประยุกต์เข้ากับการออกแบบยูนิฟอร์มใหม่ให้กับพนักงาน เพื่อสะท้อนจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมความยั่งยืนในเวลาเดียว

แต่ก่อนตัดสินใจเปลี่ยนยูนิฟอร์มใหม่ให้สอดคล้องกับหลักการ CSR แบรนด์ควรคำนึงถึงอะไรบ้าง? ตั้งแต่การออกแบบ การเลือกสรรเนื้อผ้า จนถึงโรงงานที่ได้รับมาตรฐานการผลิตระดับสากล บรรทัดจากนี้เราได้รวบรวมข้อมูลง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงหลักในการทำ CSR ผ่านการออกแบบยูนิฟอร์มเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนของโลก  
 


เลือกบริษัทที่มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ

สิ่งสำคัญที่หลายคนมักจะมองข้ามในการเลือกผู้ผลิตยูนิฟอร์ม คือบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ โรงงานที่ได้รับมาตรฐานระดับสากล มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการออกแบบโดยดีไซเนอร์ที่มีประสบการณ์และความเข้าใจใน Brand DNA อย่างแท้จริง เพื่อการลงทุนที่ส่งเสริมความยั่งยืนย่อมให้ผลคุ้มค่าในระยะยาว W2W พร้อมแล้วที่จะเป็นที่ปรึกษาสำหรับทุกธุรกิจ ในการออกแบบยูนิฟอร์มที่สะท้อนจริยธรรมของแบรนด์ และส่งเสริมความยั่งยืนได้อย่างลงตัว โดยยึดมั่นในหลักการดำเนินธุรกิจ ดังนี้

  • โรงงานการผลิตได้มาตรฐานทั้งด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยระดับสากล
  • เราไม่ส่งเสริมการใช้แรงงานเด็ก หรือแรงงานผิดกฎหมายต่างๆ
  • เราดูแลพนักงานอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม
  • เราเน้นชั่วโมงการทำงานอย่างเหมาะสม
  • เราส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงาน

เรามีความรับผิดชอบต่อพนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ และลูกค้าทุกคนที่มีส่วนในความสำเร็จของเรา ด้วยการทำงานอย่างใกล้ชิดและความรักในสิ่งที่ทำ เราจึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนามาตรฐานการผลิตอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมที่ดีในโรงงานของเราในอนาคต


Sustainable textiles ผ้าแบบไหนที่ส่งเสริมความยั่งยืนของโลก

การเลือกเนื้อผ้าที่ใช้ในการผลิตยูนิฟอร์ม ถือเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นผ้าที่ผลิตจากเส้นใยของพืช ขนสัตว์ และใยสังเคราะห์ ที่แต่ละเนื้อผ้าย่อมมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันไป ทีมดีไซเนอร์ของเราจึงพิถืพิถันในการเลือกเนื้อผ้าให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน ได้แก่


ผ้าฝ้ายออร์แกนิค: ฝ้ายออร์แกนิกเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกยอดนิยมที่แบรนด์ดังระดับโลกให้ความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยกระบวนการผลิตจะไม่ใช้ปุ๋ยสังเคราะห์ที่เป็นพิษ ยาฆ่าแมลง หรือยากำจัดวัชพืชที่มีผลกระทบต่อพืช สัตว์ อากาศ และแหล่งน้ำต่างๆ ทั้งยังดีต่อสุขภาพของคนงานในฟาร์มอีกด้วย


ผ้าลินิน: ผลิตจากเส้นใยของพืชที่เรียกว่า ‘แฟลกซ์’ (Flax) นิยมปลูกมากในยุโรป เช่น ไอร์แลนด์ รัสเซีย เบลเยี่ยม ฯลฯ แฟลกซ์สามารถปลูกได้ในสภาพแวดล้อมที่ขรุขระและไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี แม้ว่าวิธีการแปรรูปแบบเดิมๆ จะทำให้มลพิษไหลลงสู่แหล่งน้ำ แต่ปัจจุบันหลายโรงงานมีวิธีการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อลดการสร้างมลพิษทางน้ำ


ผ้าขนสัตว์: หนึ่งในผ้าขนสัตว์ที่นิยมนำมาผลิตยูนิฟอร์มคือ ‘ผ้าวูล’ เพราะเป็นผ้าที่ทนทานและยืดหยุ่นได้ดี สามารถดูดซึมสีที่ใช้ในการย้อมและให้สีสันที่สวยงามได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องใช้สารเคมี ผ้าวูลสามารถแทนที่เส้นใยสังเคราะห์ที่ทนน้ำได้หลายชนิด และลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมหรือปล่อยก๊าซมีเทนจากแกะได้อีกด้วย


ผ้าที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล: แบรนด์ดังอย่าง Craghoppers ตัดสินใจใช้ผ้ารีไซเคิลที่ได้จากพลาสติกในการผลิตยูนิฟอร์มใหม่ให้กับพนักงาน รวมถึง Fleece Jacket ซึ่งเปลี่ยนจากการใช้ขนแกะในการผลิตมาเป็นขวดพลาสติกรีไซเคิล พร้อมคุณสมบัติเด่นที่ช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ทนทาน น้ำหนักเบา แห้งเร็ว สวมใส่สบาย และส่งเสริมความยั่งยืน


DGrade: เป็นบริษัทเดียวในการจัดหาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคุณภาพสูง เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนของโลกอย่างแท้จริง รวมถึงการผลิตเนื้อผ้าจนถึงเสื้อผ้าจากขวดพลาสติกรีไซเคิล


ส่งเสริมความยั่งยืน ด้วยยูนิฟอร์มที่ทนต่อการใช้งาน

แทนที่จะเปลี่ยนยูนิฟอร์มทุกๆ 2-3 ปี เพราะสีซีดไว เนื้อผ้าไม่คงทน ดูแลรักษายุ่งยาก การเลือกผลิตยูนิฟอร์มที่มีคุณภาพและทนทาน จะช่วยให้บริษัทลดต้นทุนได้อย่างดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะยูนิฟอร์มที่ไม่มีคุณภาพจะส่งผลให้บริษัทต้องลงทุนเปลี่ยนยูนิฟอร์มบ่อยครั้งและสิ้นเปลืองทรัพยากร W2W จึงให้ความสำคัญในการคัดเลือกเนื้อผ้าและวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี ดูแลรักษาง่าย คงทน ยืดหยุ่น กระบวนการย้อมสีที่มีประสิทธิภาพสูง ฯลฯ เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิตยูนิฟอร์มใหม่ให้พนักงาน ทั้งยังช่วยลดการใช้พลังงาน น้ำ และการปล่อยเส้นใยไมโครพลาสติกสู่มหาสมุทร

นอกจากนี้ เรายังสนับสนุนให้บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการกับยูนิฟอร์มเก่า ปัจจุบัน 90% ของเสื้อผ้าถูกทิ้งกว่า 33 ล้านชิ้นในแต่ละปี ถูกนำไปฝังกลบหรือเผาทิ้งซึ่งนำไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ เรามีไอเดียดีๆ ในการรีไซเคิลยูนิฟอร์มเก่าหรือเสื้อผ้ามาแนะนำ

  • อัพไซเคิลยูนิฟอร์ม ด้วยการนำไปแยกชิ้นส่วนเพื่อประยุกต์เป็นเสื้อผ้าหรือสิ่งทออื่นๆ
  • หากไม่มีปัญหาเรื่องความปลอดภัยและภาพลักษณ์ของแบรนด์ เช่น โลโก้ ฯลฯ สามารถนำเสื้อผ้าไปบริจาคให้กับองค์กรการกุศลต่างๆ


W2W พร้อมแล้วที่จะออกแบบและรังสรรค์ยูนิฟอร์มที่สะท้อนภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ และส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ภายใต้การออกแบบโดยทีมดีไซเนอร์มากประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการผลิตอย่างพิถีพิถันในทุกขั้นตอนโดยผู้เชี่ยวชาญการผลิตยูนิฟอร์มกว่า 27 ปี และโรงงานคุณภาพมาตรฐานสากล เพื่อให้คุณแน่ใจว่า พนักงานจะมีความสุขและแรงบันดาลใจดีๆ ในการทำงาน พร้อมส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้องค์กรผ่านยูนิฟอร์มได้อย่างลงตัว


🤗 ต้องการสั่งซื้อ หรือสอบถามสินค้า 🤗

☎ 02-196-2113 มือถือ. 080-269-6660 (คุณ)
📲 LINE : @WEARTOWORK
🌍 www.w2w.co.th

รับชมวีดีโอ

The Power of Uniform : ยูนิฟอร์มช่วยสร้างการจดจำและภาพลักษณ์ใหม่ที่ดีกว่า

นักการตลาดทั่วโลกต่างก็ยอมรับว่า ยูนิฟอร์มเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง และเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักในการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ขององค์กรอย่างไม่ต้องสงสัย “พลังแห่งยูนิฟอร์ม” จะช่วยสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) การจดจำ และสร้างความผูกพันกับแบรนด์ได้อย่างดี จึงไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้ามหากคุณอยากปรับปรุงภาพลักษณ์ แม้แต่นำพาชื่อเสียงของแบรนด์สู่ความสำเร็จในอนาคต


เพิ่มการรับรู้และการจดจำ (Brand Awareness)

ไม่ว่าจะเป็นโลโก้ สี หรือคำคมที่อยู่บนยูนิฟอร์มล้วนสร้างการรับรู้และจดจำแบรนด์ได้อย่างดี ลองนึกถึงมื้อกลางวันที่วุ่นวายในห้างสรรพสินค้าหรือโรงอาหาร คุณจะแยกพนักงานธนาคารหรือพนักงานค่ายมือถือต่างๆ ได้ทันทีว่า ยูนิฟอร์มแบบไหนมาจากบริษัทใด ยูนิฟอร์มช่วยให้เกิดการรับรู้และจดจำ ทั้งยังมีผลอย่างมากในการตัดสินใจของลูกค้า เพราะพวกเขาจะนึกถึงประสบการณ์ที่ได้รับ การให้บริการ คุณภาพของสินค้า ความปลอดภัย ความสนุก ความรวดเร็ว ความหรูหรา นวัตกรรม ความสะดวกสบาย หรือความคุ้มค่า  

สังเกตได้จากความสำเร็จของแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง Apple, Starbucks, Nike ไม่ได้เกิดจากกลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์ โฆษณาทางทีวี YouTube หรือป้ายโฆษณาเพียงอย่างเดียว พวกเขายังให้ความสำคัญกับการออกแบบยูนิฟอร์มของพนักงาน เพื่อใช้ในการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าและสร้างประสบการณ์ที่ดีเกี่ยวกับแบรนด์ พนักงานของคุณควรเป็นที่รู้จักไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ใดก็ตาม ดังนั้น การออกแบบยูนิฟอร์มที่ดีจึงควรสอดคล้องกับการโฆษณาผ่านช่องทางอื่นๆ เพื่อช่วยโปรโมทแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและสร้างการจดจำมากขึ้น


กอบกู้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ดีขึ้น

มีกลยุทธ์ทางการตลาดหลายวิธีที่ส่งผลต่อการรับรู้แบรนด์ ดังเช่นที่บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Volkswagen, Ryanair และ Sports Direct เคยประสบปัญหาจากการรับรู้แบรนด์ที่ไม่ค่อยดี ด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ การบริการ และจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ หนึ่งในกลยุทธ์ที่นักการตลาดนำมาใช้ในการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์หรือกอบกู้ชื่อเสียงของแบรนด์ คือการออกแบบยูนิฟอร์มใหม่เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ ส่วนแบรนด์ที่มีชื่อเสียงและทำผลงานได้ดี ได้แก่ Virgin Atlantic, Harrods และ Transport for London เป็นต้น ก็ให้ความสำคัญกับยูนิฟอร์มของพนักงานมาตลอดเช่นกัน


แม้ปัจจุบันแบรนด์จะให้ความสำคัญกับช่องทางการตลาดหรือการขายสินค้าออนไลน์มากขึ้น แต่ในหลายธุรกิจลูกค้ายังคาดหวังประสบการณ์ที่ดีจากพนักงานเช่นกัน จากการศึกษาในปี 2019 พบว่า 85% ของผู้บริโภคยังชอบใช้บริการที่ร้านค้าปลีกมากกว่าช้อปปิ้งออนไลน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดแข็งของการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดในการออกแบบยูนิฟอร์ม และแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับพนักงานของคุณ


อีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจคือ การที่ Nike เลือกใช้ข้อความสั้นๆ แต่เปี่ยมด้วยแรงบันดาลใจบนยูนิฟอร์มของพนักงานหน้าร้านและพนักงานออฟฟิศ โดยพนักงานส่วนใหญ่จะสวมเสื้อยืดที่มีข้อความว่า ‘Unlimited’ (ไร้ขีดจำกัด) ในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของ Serena Williams ขณะที่พนักงาน Microsoft จะสวมเสื้อยืดสีสันสดใสที่เขียนว่า ‘Dare to Live’ แต่การเลือกใช้ข้อความใดๆ บนยูนิฟอร์มควรคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่ละเอียดอ่อน เพื่อให้แน่ใจว่าข้อความนั้นจะสอดคล้องกับแบรนด์และส่งเสริมภาพลักษณ์ได้อย่างลงตัว


‘ยูนิฟอร์ม’ ช่วยกระตุ้นการมีส่วนร่วมได้อย่างดี

มีแบรนด์ยักษ์ใหญ่มากมายที่ลงทุนออกแบบยูนิฟอร์มใหม่เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้า ขณะที่แบรนด์ดังอย่าง ASDA (ซูเปอร์มาร์เก็ตของอังกฤษ) พยายามกระตุ้นให้ลูกค้าขอความช่วยเหลือจากพนักงานกว่า 180,000 คน ระหว่างรอการปรับเปลี่ยนยูนิฟอร์มใหม่ ผู้บริหารได้ตัดสินใจเลือกทำในสิ่งที่ง่ายที่สุดอย่างการติดป้ายชื่อลงบนยูนิฟอร์ม ซึ่งช่วยประหยัดงบประมาณและดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังกระตุ้นให้เกิดบทสนทนาและการมีส่วนร่วมระหว่างลูกค้ากับพนักงานได้อย่างเห็นผลจริง ดังเช่นที่เราเห็นแบรนด์ดังอีกมากมายทำตามเทคนิคนี้ในปัจจุบัน

ขณะที่ National Trust for Places of Historic Interest หรือเรียกย่อๆ ว่า ‘National Trust’ องค์กรการกุศลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติแห่งสหราชอาณาจักร ตัดสินใจลงทุนเปลี่ยนยูนิฟอร์มของพนักงานใหม่ในทุกสถานที่ที่อยู่ภายใต้การดูแลขององค์กร โดยแต่ละแห่งจะมีโทนสีของยูนิฟอร์มให้เลือกและสามารถติดตราสัญลักษณ์ของ National Trust หรือข้อความที่เกี่ยวข้อง เพื่อสะท้อนเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นที่ไม่เหมือนใคร ขณะเดียวกันยูนิฟอร์มของแต่ละแห่งก็สอดคล้องกับภาพลักษณ์ขององค์กรอีกด้วย เพราะไม่ว่าคุณจะเข้าใช้บริการสถานที่ใดในเครือ National Trust คุณก็จะรับรู้ได้ทันทีผ่านยูนิฟอร์มที่มีความเชื่อมโยงกัน ทั้งยังช่วยให้พนักงานรู้สึกถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียว ตระหนักถึงการเป็นตัวแทนขององค์กร และคงรักษาชื่อเสียงที่ดีขององค์กรภายใต้ยูนิฟอร์มที่พวกเขาสวมใส่


แม้ว่า ASDA และ National Trust ต่างก็บรรลุเป้าหมายด้วยวิธีที่แตกต่างกัน แต่ก็ตอกย้ำถึงความสำคัญของยูนิฟอร์มที่ช่วยกระตุ้นการมีส่วนร่วมของลูกค้าและพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับที่แบรนด์ชื่อดังระดับโลกพยายามนำมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบยูนิฟอร์มกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น

W2W พร้อมแล้วที่จะนำเสนอยูนิฟอร์มที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ทันสมัย เสริมสร้างความมั่นใจให้พนักงาน และสะท้อนภาพลักษณ์ที่แตกต่างขององค์กร ภายใต้การตัดเย็บอย่างพิถีพิถันและทุกขั้นตอนการผลิตที่มีคุณภาพมาตรฐานสากล เพื่อให้คุณแน่ใจว่า พนักงานจะมีความสุขและแรงบันดาลใจในการทำงาน พร้อมส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้องค์กรผ่านยูนิฟอร์มได้อย่างลงตัว


🤗 ต้องการสั่งซื้อ หรือสอบถามสินค้า 🤗

☎ 02-196-2113 มือถือ. 080-269-6660 (คุณ)
📲 LINE : @WEARTOWORK
🌍 www.w2w.co.th

รับชมวีดีโอ