ยกระดับภูมิปัญญา ดีไซน์ผ้าไทย ให้ใส่สนุกจนอยากใส่ทุกวัน

เรื่องโดย ปิยฉัตร เมนาคมภาพ ปฏิพล รัชตอาภา

ผ้าไทย ใครว่าใส่ได้เฉพาะโอกาสสำคัญ

การตัดสินหรือจำกัดกรอบผ้าไทยมาจาก 2 ประเด็นหลัก คือการออกแบบและมุมมอง

ประเด็นแรก การออกแบบ ในที่นี้หมายถึงการออกแบบตัดเย็บสมัยก่อน เช่น ชุดผ้าไหม ชุดผ้าซิ่น ชุดผ้าไหมข้าราชการ จะมีรูปแบบ (Pattern) และเข้าถึงยาก ฉะนั้น โครงการพัฒนาการออกแบบเครื่องแต่งกายผ้าไทยร่วมสมัย (Ready to Wear) จึงเห็นโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของผ้าไทย

ประเด็นที่ 2 คือคนมีภาพจำว่าผ้าไทยหรือชุดไทย ๆ ต้องใส่ในโอกาสสำคัญเท่านั้น

2 ประเด็นนี้น่าสนใจและน่าชวนตั้งคำถาม เหตุใดผ้าไทยถึงถูกมองด้วยเช่นนั้นว่าเป็นของชนชั้นสูง ไม่ทันสมัย เข้าถึงยาก ทั้งที่จริงแล้วแหล่งผลิตดั้งเดิมของผ้าไทยเกือบทุกชนิดมาจากชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เป็นภูมิปัญญาที่ส่งต่อหลายยุคหลายสมัย แต่วันนี้กลับเป็นสิ่งที่ไกลออกไป

ด้วยเหตุนี้ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จึงจัดโครงการพัฒนาการออกแบบเครื่องแต่งกายผ้าไทยร่วมสมัย (Ready to Wear) ชวนนักออกแบบ 4 คน จับคู่ผู้ประกอบการ 13 กิจการจาก 4 ภาคของประเทศไทย ร่วมกันตีโจทย์ แลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์ และเรียนรู้ พร้อมสร้างสรรค์ผลงานภายใต้คอนเซปต์ ‘ผ้าไทยร่วมสมัย’ ร่วมกัน

นี่คือเรื่องราวและแรงบันดาลใจของผู้อยู่เบื้องหลังวงการผ้าไทย

ภาคเหนือ

เอก ทองประเสริฐ ดีไซเนอร์และเจ้าของแบรนด์ Ek Thongprasert และ Sculpture Studio

เพราะสนใจงานปัก Patchwork อยู่ก่อนแล้ว และภาคเหนือมีความเรียบง่าย แต่ซับซ้อน

เพราะความบริสุทธิ์ เข้าถึงง่าย ของพี่น้องชาติพันธุ์ เอกจึงตัดสินใจเลือกที่นี่ แต่ประเด็นหลักคือ

“เราสนใจกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขา สนใจวัฒนธรรมของเขา และอยากพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เขา”

เสน่ห์ของชาติพันธุ์ลีซอ คือการแต่งกายแสดงอัตลักษณ์ชัดเจน นุ่งห่มเสื้อผ้าสีสดใส ตกแต่งด้วยไหมพรมและพู่ประดับ ส่วนเสน่ห์ของชาติพันธุ์ม้ง คือผ้าปักสะท้อนเรื่องราววัฒนธรรมของหญิงชาวม้ง

เอกมองว่าเบื้องหลังเหล่านี้เป็นเรื่องที่บางครั้งไม่ได้ถูกนำมาเล่า จึงไม่ได้ซึมซับคุณค่าเท่าที่ควร เลยอยากฟื้นเรื่องราวนี้ออกมาให้คนส่วนใหญ่เห็น เพราะมีวิถีชีวิต มีวัฒนธรรม มีความเป็นตัวตนของพวกเขาอยู่ในลายผ้านั้น ๆ ซึ่งควรค่าแก่การสืบทอด พัฒนา และประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน

ผลงานของเอกทำขึ้นภายใต้แนวคิด ‘ไดอารี่ของ 2566’ จินตนาการว่า ถ้าชาวเขามาอยู่ในเมืองจะเกิดอะไรขึ้น ลายเส้นที่ออกมาจึงมีที่มาจากช่องว่างของตึก อาคาร บ้าน เพื่อสื่อความเป็นเมือง

“เราอยากสร้างความเข้าใจและเชื่อมเสื้อผ้าพื้นถิ่นกับคนรุ่นใหม่ ทำให้คนหมู่มากในสังคมให้ความสนใจกผ้าพื้นถิ่น และอยากให้คนภูมิใจกับชาติพันธุ์มากขึ้น นี่คือสิ่งที่เราอยากเห็นมาโดยตลอด”

ผู้ประกอบการรายแรกที่เอกร่วมงานด้วย คือนัดลดาคอตตอน

“ชื่อปลื้มค่ะ ตอนนี้ทำแบรนด์ นัดลดาคอตตอน” ปลื้ม-ผกาวดี แก้วชมพู แนะนำตัวกับเรา

นัดลดาคอตตอน เป็นแบรนด์ชุมชนกลุ่มทอผ้าบ้านห้วยทราย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

นัดลดาคอตตอนส่งต่อภูมิปัญญามา 4 รุ่น ตั้งแต่รุ่นทวด รุ่นยาย รุ่นแม่ และรุ่นปลื้ม ไอเดียที่ได้แรงบันดาลใจมาจากชุมชนมีมาตั้งแต่รุ่นทวด เธอค่อย ๆ พัฒนาให้ทันสมัยยิ่งขึ้น เพื่อเข้าถึงคนกลุ่มใหม่

ส่วนลวดลาย เธอได้รับแรงบันดาลใจจากการทำงานและการใช้ชีวิตกับชุมชน ปลื้มใช้เทคนิคทอสลับ เส้นยืนเป็นลายสายฝน และนำเศษผ้าเหลือจากชุมชนมาทำ Patchwork ตามที่ อ.เอก แนะนำ

“เรานำสิ่งที่อาจารย์เอกแนะนำ ใช้งานจากเศษผ้าหรืองานรียูสที่ทอทิ้งไว้ ลายมันสวย เราก็เอามาปะบนเสื้อแล้วไปลองขาย สิ่งนี้ตอบโจทย์ลูกค้าต่างชาติ และมีลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ มากขึ้น

“อาจารย์พัฒนาจุดแข็งของเราให้แข็งแรงขึ้น เราคิดว่าผ้าไทยไม่ได้หยุดอยู่แค่ว่าจะต้องเป็นเสื้อผ้าของกลุ่มข้าราชการเท่านั้น จริง ๆ ทุกเพศ ทุกวัย ก็ใส่ได้ และผ้าไทยก็ช่วยยกระดับชุมชนขึ้นมาเช่นกัน”

ผู้ประกอบการรายที่ 2 ที่เอกร่วมงานด้วย คือนายใจดี

“ชื่อ รุ่งนภา ใจดี เจ้าของแบรนด์นายใจดีค่ะ”

นาย อดีตพนักงานบริษัทส่งออกที่ผันตัวมาเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นเริ่มแนะนำตัว

ชุมชนของนายมีภูมิปัญญางานปัก แบรนด์นายใจดีจึงเน้นทำผลิตภัณฑ์เป็นพวงกุญแจ กระเป๋า และของใช้ต่าง ๆ ด้วยลวดลายซิกเนเจอร์ 3 แบบ ได้แก่ ลายแบบธรรมชาติ มีดอกไม้ ต้นไม้ ภูเขา ลายวิถีชีวิต มีไร่นา มีชาวนา มีกระต๊อบ และลายตัวอักษร ซึ่งเขาได้แรงบันดาลใจมาจากการเลี้ยงลูก

อาจารย์เอกแนะนำให้หยิบวิถีชีวิตชุมชนมาเล่าผ่านสินค้า เพื่อต่อยอดสินค้าให้มีความทันสมัย

ผู้ประกอบการรายที่ 3 ที่เอกร่วมงานด้วย คือยาจกไฮโซ

นวภัสร์ จำใจ เริ่มต้นทำร้านยาจกไฮโซเมื่อประมาณ 4 ปีก่อน เกิดจากกลุ่มญาติที่ชื่นชอบงานเย็บปักถักร้อยมารวมตัวกัน ทุกคนเห็นความสำคัญของผ้าชิ้นเล็ก ๆ ที่เหลือจากการตัดเย็บ เลยนำมาตกแต่งเป็น Patchwork ทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า หมวก รองเท้า สไตล์เย็บรุ่ย ๆ แล้วปักเพิ่มเพื่อเพิ่มมูลค่า

“ตอนแรกคิดจะทำเฉพาะในกลุ่มเครือญาติ แต่พอเอาไปขาย ปรากฏว่าผู้คนสนใจกันมาก เลยขยายเข้าไปในชุมชน คนในชุมชนก็เริ่มทยอยมารับงานไปทำ มีการพัฒนาฝีมือมาเรื่อย ๆ แล้วก็คิดลายปักที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มยาจกขึ้นมา” หัวหน้ากลุ่มเล่าที่มาที่ไปพอให้ทำความรู้จักกันสั้น ๆ

ยาจกไฮโซผสานภูมิปัญญาการทอและการปักเข้าด้วยกัน และพัฒนาลูกเล่น เช่น สร้างงาน 3 มิติ ทำให้ภาพรวมดูร่วมสมัยขึ้น เก๋ และไม่ซ้ำใคร แถมเป็นที่พูดถึงของกลุ่มลูกค้าชาวจีน

ผ้าไทยต้องไปต่อ!

นักออกแบบและผู้ประกอบการทำมีปลายทางเดียวกัน คือทำให้ภูมิปัญญาคงอยู่อย่างร่วมสมัย

สิ่งที่ต่างกัน คือวิธีคิด วิธีทำ วิธีผลิตผลงาน และอัตลักษณ์ของทั้ง 4 ดีไซเนอร์ และ 13 ผู้ประกอบการที่ชัดเจนในตัวตน ซึ่งการมาทำงานร่วมกันครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่แต่ละท่านได้มาแลกเปลี่ยนความคิดกัน และได้ประสบการณ์ที่นำกลับไปปรับและประยุกต์กับการทำงานได้

สิ่งที่เหมือนกัน คือทุกคนไม่ได้อยากจบงานลงตรงที่จบโปรเจกต์ การจะทำให้ภูมิปัญญาเก่าคงอยู่ร่วมสมัยอย่างยั่งยืน ต้องอาศัยเวลาและการปรับตัวของบุคคลทุกกลุ่ม ตั้งแต่ชาวบ้าน คนสร้างงาน นักออกแบบ เจ้าของแบรนด์ และผู้บริโภค รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งข้อนี้สำคัญมาก

สิ่งที่คาดหวังอยากให้เกิดขึ้น คือการสนับสนุนจากรัฐและเอกชน ที่เห็นภาพชัดที่สุด คือการบอกต่อหรือประชาสัมพันธ์สิ่งที่ทุกคนทำสู่สังคมแบบวงกว้าง สื่อสารประเด็นที่ต้องการสื่อให้คนได้เข้าใจร่วมกัน

สิ่งสุดท้าย คือคำขอบคุณ คำขอบคุณถึงทีมผู้ริเริ่มโครงการ คำขอบคุณระหว่างคนทำงานร่วมกัน คำขอบคุณระหว่างดีไซเนอร์ ผู้ประกอบการ และช่างฝีมือทุกคน รวมถึงคำขอบคุณจากตัวเองถึงตัวเองของทุกคนในโครงการพัฒนาการออกแบบเครื่องแต่งกายผ้าไทยร่วมสมัย (Ready to Wear) เพราะศักยภาพ ความตั้งใจ ล้วนเห็นเป็นประจักษ์ผ่านผลงานที่ผลิตออกมาในครั้งนี้เรียบร้อยแล้ว

คุณเอก ทองประเสริฐ ออกแบบ Fashion Show และร่วมตัดสินการประกวดออกแบบเครื่องแต่งกายร่วมสมัย ‘ไทยใส่สบาย’ ปี65

#คุณเอกทองประเสริฐ ผู้ออกแบบชุดยูนิฟอร์มประจำแบรนด์ W2W #ออกแบบผลิตชุดยูนิฟอร์มแฟชั่น ได้รับเชิญให้เป็นผู้ออกแบบ Fashion Show และร่วมตัดสิน #การประกวดออกแบบเครื่องแต่งกายร่วมสมัย ‘#ไทยใส่สบาย’ ประจำปี 2565 จัดโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.)

การประกวดออกแบบเครื่องแต่งกายร่วมสมัย “ไทยใส่สบาย”ประจำปี 2565 ภายใต้โจทย์ในการนำผ้าไทย มาใช้เป็นวัตถุดิบในการสร้างสรรค์ผลงานออกแบบให้เป็นเครื่องแต่งกายให้มีความร่วมสมัย เพื่อให้เห็นว่าผ้าไทยสามารถนำมาตัดเย็บให้สวยงาม ใส่ได้ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น วัยรุ่น วัยทำงาน และบุคคลทั่วไปก็สวมใส่ได้อย่างสบาย โดยมีผลงานที่ส่งเข้าร่วมการประกวด 88 ผลงานจากทั่วประเทศ และผ่านการคัดเลือกโดยคณะกรรมการ ซึ่งเป็นดีไซเนอร์มืออาชีพระดับแถวหน้า ของไทย จนเหลือผลงานที่มีความโดดเด่นจำนวนทั้งสิ้น 12 ผลงานในรอบสุดท้าย

W2W Wear To Work ออกแบบ-ผลิต-จำหน่าย #ชุดยูนิฟอร์มพนักงานทุกสาขาอาชีพ – #ชุดยูนิฟอร์มพนักงานทุกสายธุรกิจ ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์สินค้าและองค์กรได้อย่างมีระดับ

ต้องการสั่งซื้อ หรือสอบถามสินค้า
☎ 02-196-2113 มือถือ. 080-269-6660 (คุณ)
📲 LINE : @WEARTOWORK
🌍 www.w2w.co.th

คุณเอก ทองประเสริฐ ไทยดีไซเนอร์ชื่อดัง เข้ารับพระราชทานเข็มที่ระลึกของงานสยามพัสตรา ภูษาสง่าศิลป์ เฉลิมพระเกียรติฯ

คุณเอก ทองประเสริฐ ไทยดีไซเนอร์ชื่อดัง เจ้าของรางวัลระดับโลก และดีไซเนอร์ W2W ออกแบบยูนิฟอร์ม ได้เข้ารับพระราชทานเข็มที่ระลึกของงานสยามพัสตรา ภูษาสง่าศิลป์ เฉลิมพระเกียรติฯ

จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงเป็นประธานงาน เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ ที่ผ่านมา

[แพรว The CEO] วิภาพร สัตยาอภิธาน ผู้บริหารรุ่นใหม่ไฟแรง แห่งอาณาจักร P.J. Garment ต่อยอดธุรกิจสู่ “บริษัท W2W”

พบกับผู้บริหารรุ่นใหม่ไฟแรง แห่งอาณาจักร P.J. Garment ผู้นำแห่งธุรกิจสิ่งทอและผลิตเครื่องแบบให้กับโรงงานทั้งไทยและเทศ นำโดย คุณบี-วิภาพร สัตยาอภิธาน ที่กำลังต่อยอดธุรกิจสู่ “บริษัท W2W” ร่วมกับน้องชาย คุณ-ณัชคุณ สัตยาอภิธาน และเอก ทองประเสริฐ ดีไซเนอร์มือรางวัล สร้างสรรค์ธุรกิจออกแบบและผลิตเครื่องแบบ สำหรับ Corporate Workwear พร้อมตั้งเป้าเป็น No. 1 ด้านการออกแบบและผลิตชุดยูนิฟอร์มของทีมไทย “เพราะการทำงานกินเวลาไปกว่าครึ่งชีวิต ชุดทำงานจึงควรทั้งใส่สบายและบ่งบอกเอกลักษณ์ของแบรนด์ไปพร้อมๆ กัน”

ต้องการสั่งซื้อ หรือสอบถามสินค้า
☎ 02-196-2113 มือถือ. 080-269-6660 (คุณ)
📲 LINE : @WEARTOWORK
🌍 www.w2w.co.th

This image has an empty alt attribute; its file name is line-add-friend-300x200-1.png
This image has an empty alt attribute; its file name is youtube-icon-128.png

คุณวิภาพร สัตยาอภิธาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท Wear to Work บนนิตยสารแพรว เล่มประจำเดือนม.ค. 2022 (Let’s Celebrate 2022 Glow & Glory Life)

นิตยสารแพรว เล่มประจำเดือนมกราคม 2022 ได้ฉลองเทศกาลแห่งความสุขรับปี 2022 กับเรื่องราวความปัง ความเป็นที่สุด และความสำเร็จของ 12 #นักธุรกิจที่มุ่งมั่นทำความฝันให้เป็นจริง ในคอลัมน์ Let’s Celebrate 2022 Glow& Glory Life

ซึ่งหนึ่งใน 12 นักธุรกิจที่อยู่ในคอลัมน์นี้ ก็คือ #คุณวิภาพร สัตยาอภิธาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีเจ.การ์เม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท Wear to Work

เรื่องราวความปัง

เรื่องภูมิใจล่าสุดคือ ซึ่งรับทำยูนิฟอร์มพนักงานให้บริษัทอย่างโตโยต้า, กรีนสปอร์ต, วิริยะประกันภัย ฯลฯ เพิ่งได้รับรางวัลด้านนวัตกรรม Asian Purchasing Immovation Day 2021 ของ Michelin (ยิ้ม)

เมื่อก่อนเวลาเราจะขายเสื้อต้องไปวัดไซส์ลูกค้า แต่พอเกิดสถานการณ์โควิด ทำแบบเดิมไม่ได้ จึงคิดค้นระบบออนไลน์ Uniform Ordery System ที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องมาวัดตัว ช่วยประหยัดเวลา และค่าเดินทาง ที่สำคัญ คือช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

โดยลูกค้าสามารถล็อกอินเข้ามาเลือกยูนิฟอร์มได้เลย เรามีไซส์รองรับถึง 10 ขนาด จึงมั่นใจว่าทุกคนใส่ได้ โปรเจ็กต์ต่อไปคือการขายเสื้อเชิ้ตทางออนไลน์ เพียงคุณแค่ถ่ายรูปเสื้อเชิ้ตตัวเก่าส่งมา ระบบจะคำนวณทุกอย่างให้ โดยไม่ต้องแจ้งไซส์ ทั้งยังสามารถสั่งเสื้อแบบคัสตอมเมดได้


ต้องการสั่งซื้อ หรือสอบถามสินค้า
☎ 02-196-2113 มือถือ. 080-269-6660 (คุณ)
📲 LINE : @WEARTOWORK
🌍 www.w2w.co.th

This image has an empty alt attribute; its file name is line-add-friend-300x200-1.png
This image has an empty alt attribute; its file name is youtube-icon-128.png

เอก ทองประเสริฐ ออกแบบและผลิตชุดให้ทีมอาสา #Heroชุดฟ้า ช่วยโควิด-19

เอก ทองประเสริฐ ดีไซเนอร์ชื่อดังและผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ W2W (ดับบลิว ทู ดับบลิว) ผู้นำเทรนด์การออกแบบยูนิฟอร์มยุคใหม่ที่ทันสมัย ตอบโจทย์ทุกสไตล์การทำงาน และเพิ่มความมั่นใจในรูปร่างให้ผู้สวมใส่ในทุกสรีระ ออกแบบยูนิฟอร์มพิเศษให้กับชาวจิตอาสาในโครงการ Food For Fighters ด้วยชุด Jumpsuit สีฟ้า-ขาว ซึ่งเป็นสีที่ได้แรงบันดาลใจจากโลโก้ของโครงการ ฯ สามารถสวมใส่ทับเสื้อผ้าปกติได้ทันที เนื้อผ้าระบายอากาศได้ดี ไม่ร้อน ไม่ก่อให้เกิดไฟฟ้าสถิตย์ เพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานด้วยกระเป๋าใส่ของหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบาย ช่วยให้การลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในชุมชนต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างคล่องตัวและปลอดภัยมากขึ้น

นอกจากนี้ Food For Fighters ยังได้รับเกียรติจาก อแมนด้า ชาลิศา ออบดรัม มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2563 ในฐานะตัวแทนของโครงการ ฯ ที่ริเริ่มขึ้นในปี 2563 โดย เต้-พันชนะ วัฒนเสถียร ผู้ก่อตั้งร้านอาหาร ‘เป็นลาว’ ร่วมสนับสนุน ‘ข้าวเพื่อหมอ’ เพื่อเป็นกำลังใจให้เหล่าฮีโร่ชุดกราวนฺด์ ภายใต้ความร่วมมือกับกลุ่มบุคคล องค์กรเอกชน และอาสาสมัคร จนได้รับการยกย่องจากโคคา-โคล่า ให้เป็นหนึ่งในฮีโร่ชาวไทยร่วมกับฮีโร่จากหลายประเทศ ในหนังสั้นออนไลน์พิเศษ ‘For The Human Race’ ที่ออกฉายไปทั่วโลก ปัจจุบัน Food For Fighters ยังคงทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง และขยายความช่วยเหลือสู่การจัดส่งอาหารและถุงยังชีพถึงมือผู้รับ ฯลฯ จนได้รับยกย่องว่าเป็น ‘ฮีโร่ชุดฟ้า’ ที่เสียสละทำงานเพื่อคนอื่นในช่วงวิกฤตโควิด-19 #ช่วยในสิ่งที่ตัวเองถนัด #Heroชุดฟ้า

ติดตามความเคลื่อนไหวและร่วมสนับสนุนโครงการ ฯ ได้ที่ https://www.facebook.com/FoodForFightersTH และติดตามผลงานการออกแบบยูนิฟอร์มดีไซน์สวยของ W2W ได้ทาง https://www.facebook.com/w2w.weartowork